วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

อาหารภาคเหนือ

"อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ"

    ในบริเวณพื้นที่ภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดนต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วย อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียว เป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่างๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม นำ้พริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมูและผักต่างๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่นๆ นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำพันธ์ุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน ชื่อต่างๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน


น้ำพริกหนุ่ม
             อาหารพื้นบ้านภาคเหนือมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลานกลุ่มชน เช่น ไทใหญ่ จีนฮ่อ ไทลื้อ และคนพื้นเมือง

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

ความหมายของคำสแลง

คำสแลง หรือคำคะนอง

        ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอคือ เกิดขึ้น ตั้ง อยู่ และเสื่อมสูญไปเช่นเดียวกับวัฒนธรรมอื่น ๆ ปัจจุบันมีภาษาเกิดขึ้นใหม่ ไม่ขาดสาย ตามวิวัฒนาการของสังคมและวัฒนธรรมเช่น ภาษาวิชาการ ภาษาเฉพาะ วิชาชีพ ภาษาที่ใช้เรียกสิ่งที่เป็นนวัตกรรมต่าง ๆ เป็นต้น และมีภาษาอีก ลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มคนในสังคม เป็นภาษาที่สร้างสีสัน สร้าง ความแปลกใหม่ ได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่มในเวลาสั้น ๆ แล้วเสื่อมสูญไป ภาษา ชนิดนี้เรียกว่า ภาษาสแลง คำสแลง หรือคำคะนอง
         ภาษาสแลง คำสแลงหรือคำคะนองได้มีผู้ให้ความหมายไว้มากมายทั้งที่เป็นพจนานุกรม ผลงาน เอกสาร ตำรา และงานวิจัย เช่น 
   
        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน(1) อธิบายความหมายของคำสแลงว่าถ้อยคำหรือ สำนวนที่ใช้เข้าใจเฉพาะกลุ่มหรือชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ภาษาที่ยอมรับกันว่าถูกต้อง 
  
        พจนานุกรมของ Webster(2) อธิบายความหมายของคำสแลงว่าเป็นคำเฉพาะ กลุ่ม เป็นภาษาไม่สุภาพ มีระยะเวลาใช้คำเหล่านี้ไม่นานก็จะหายไป หรือ เปลี่ยนไปและเป็นคำเกิดใหม่ตลอดเวลา
  
        พจนานุกรมของ Grolier(3) อธิบายความหมายของคำสแลงว่าเป็นคำสร้างใหม่ มี ระยะเวลาใช้ไม่นาน เป็นการใช้ภาษาเพื่อให้เกิดภาพ พจน์ (Figure of Speech) เป็นคำที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม
   
        พจนานุกรมคำเหมือนคำตรงข้าม(4) อธิบายความหมายของคำสแลงว่าเป็นคำ ตลาด และเป็นภาษาที่ใช้เฉพาะกลุ่ม  เฉพาะอาชีพใดอาชีพหนึ่ง หรือเป็นรหัสของ ขโมยหรือโจร
   
        สอ  เสถบุตร(5)  อธิบายความหมายของคำสแลงว่าคือ คำที่ใช้กันทั่วไป แต่ ไม่ถูกต้องตามหลักของภาษาและมักใช้กันชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น, คำ ตลาด, ถ้อยคำที่ใช้เข้าใจกันเฉพาะชนหมู่ใดหมู่หนึ่ง เช่น คำพูดแปลก ๆ ของ นักเรียนและทหาร เป็นต้น
   
       นอกจากพจนานุกรมที่ยกตัวอย่างข้างต้นแล้ว ยังมีผลงานตำราที่ให้ความหมายคำสแลงไว้ดังนี้
   
       ผะอบ  โปษกฤษณะ(6)  กล่าวว่า คำสแลงคือ คำที่ตั้งตามอารมณ์ เด็กวัยรุ่น คำเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็หายไปเช่น เป็นไงเลย  จิ๊กโก๊  จมไปเลย กระดูกขัดมัน  สะบัดช่อปิ้ง ฯลฯ                                             
   
       สมโรจน์  สวัสดิกุล  ณ  อยุธยา(7)  เรียกคำสแลงว่า “คำคะนอง”และกล่าวว่า คำสแลงเป็นภาษาปาก เป็นภาษาไม่เป็นแบบแผน แต่ไม่ใช่คำต่ำ หรือ คำหยาบ เป็นคำพิเศษเฉพาะกลุ่มที่สร้างขึ้นเพื่อให้มี คำแปลกๆสร้างความสนุก สนาน ระดับคำมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลสมัย
   
       สุดาพร  ลักษณียนาวิน(8)  กล่าวว่า คำสแลงเกิดจากความรู้สึกเบื่อในการ ใช้คำซ้ำแล้วซ้ำอีก คำสแลงยังเป็นสมบัติของคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด เพื่อแสดง ความเป็นสมาชิกในกลุ่ม และมีระยะเวลาในการใช้คำสแลงไม่นาน
   
       บุญยงค์  เกศเทศ(9)  กล่าวว่า คำสแลงเกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว เป็น ภาษาพูดที่นิยมกันในบางหมู่คณะ บางกรณีก็ต้องพูดเพื่อให้ออกรส จึงพยายาม สร้างรูปภาษาให้แปลกออกไป คำสแลงมักไม่ติดอยู่ในภาษานานนัก เมื่อคำหนึ่งหาย ตายไปก็มักนิยมคำใหม่ขึ้นแทน คำสแลงนั้นมีใช้กันมาทุกยุคทุก สมัย   เช่น    มันส์   เดิ้ล    หย่อย  สะเหล่อ  ยากส์   ซ่า ส์   บ๊องส์  ฟู่ฟ่า  เก๋ากึ๊กก์  เซ็งระเบิด
   
       โดยสรุปภาษาสแลง คำสแลง หรือคำคะนอง (Slang)คือถ้อยคำ สำนวน หรือภาษาพูดที่ใช้สร้างความเข้าใจเฉพาะกลุ่มซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาว เป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ ภาษาไม่สุภาพ เป็นภาษาไม่เป็นแบบแผน แต่ไม่ใช่คำหยาบหรือ คำต่ำ แต่เป็นคำ พิเศษที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดคำแปลก ๆ ผิดไปจากปรกติทั้งด้านเสียง รูป คำ และความหมายเป็นภาษาที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรม หรือปรากฏในพจนานุกรมแต่ระบุ ว่าเป็นภาษาปาก   คำสแลงมีระยะเวลาการใช้ไม่นานก็จะสูญหาย ไปเพราะหมด    ความนิยม
 
       จากลักษณะเฉพาะและความสำคัญของภาษาสแลง คำสแลงหรือคำคะนอง ดังกล่าวมา แล้วข้างต้น ได้ทำให้ผู้เขียนสนใจศึกษาภาษาชนิดนี้ โดยเฉพาะเก็บรวบรวม ข้อมูลจากกลุ่มวัยรุ่น และสื่อต่าง ๆ
เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และคอมพิวเตอร์ ในช่วง ปี 2540 – 2545 แล้วนำมาวิเคราะห์ประเภท  การสร้าง ที่มาและความหมายของคำ สแลง
   

   
ที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/413955